วันจันทร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2560

Control plan#1

Control Plan ก็เป็นเครื่องมือตัวหนึ่งใน ISO/TS16949.
 
Control plan คืออะไร แปลตรงตัวคือ แผนการควบคุมการผลิต ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้แผนการควบคุมทั้งหมดในกระบวนการผลิตแต่ละ process และ สิ่งที่ต้องควบคุม

 
 
 
อันดับแรกคือชื่อเอกสารว่า Control Plan – แผนควบคุม
 
1 Control Plan Number – หมายเลขแผนควบคุม มีรายการ
 ให้เลือกอยู่ 3 ขึ้นอยู่กับกระบวนการผลิตว่าอยู่ที่ state ไหน
 ข้างบนนั้น คือ Prototype – ต้นแบบ  Pre-launch  - การทดลองผลิต
 และ Production – การผลิต ให้เราทำเครื่องหมายลงไป
 
2  Part Number/Latest Change Level
    Model หรือ part number model/ revision
 
3  Part Name / Description ชื่อโมเดลและรายละเอียด
4  Supplier / Plant – ผู้ส่งมอบ / โรงงาน
5  Supplier Code – รหัสผู้ส่งมอบ
6  Key Contact / Phone – ที่ติดต่อหลัก / เบอร์โทรศัพท์ ก็ใส่ที่ที่สามารถติดต่อได้ลงไป
7 Core Team – ทีมงานหลัก ตรงนี้คงจะเห็นชัดได้ว่าแผนควบคุมต้องการให้มีการทำงานเป็น
    ทีม ก็ใส่ลงไป เป็นรหัสก็ได้ ใครเป็นใครไปขยายความเอาข้างนอก
8 Supplier / Plant Approval / Date – ผู้ส่งมอบ / การอนุมัติโรงงาน / วันที่
9 Other Approval / Date (if requires) – การอนุมัติอื่นๆ / วันที่ (หากต้องการ)
10 Date Original / วันที่ดั้งเดิม คือวันที่ทำแผนควบคุมนี้
11 การอนุมัติทางวิศวกรรมของลูกค้า / วันที่ (หากต้องการ)
12 การอนุมัติคุณภาพของลูกค้า / วันที่ (หากต้องการ)
13 Other Approval / Date (if requires) – การอนุมัติอื่นๆ / วันที่ (หากต้องการ)
ตั้งแต่ข้อ 1 -13 เป็นหัวกระดาษ กรอกครั้งเดียวแล้วจบ ตั้งแต่ข้อ 14 เป็นต้นไปเป็นเนื้อหาจริงของแผนควบคุม
14 Part / Process Number – หมายเลขชิ้นส่วน /กระบวนการ เป็นชิ้นส่วน หรือกระบวนการที่คุณกำลังทำแผนควบคุมอยู่
15 Process Name / Operation Description – ชื่อกระบวนการ / คำบรรยายการปฏิบัติงาน คุณอาจต้องใช้กระดาษที่มีความกว้างพอสมควร เพราะเนื้อหา
 มีมาก ตรงนี้ให้คุณใส่ชื่อกระบวนการเข้าไป หรือไม่ก็อธิบายกระบวนการ
16 Machine, Device, Jig, Tools for Manufacturing – เครื่องจักร อุปกรณ์  จิ๊ก  เครื่องมือสำหรับการผลิต
17 Characteristics – ลักษณะ ที่แบ่งออกเป็น 3 ส่วนย่อยคือ 18 – 19 – 20
18 No. – หมายเลข
19 Product: ผลิตภัณฑ์ ตรงนี้หมายถึงผลิตภัณฑ์ที่ได้ออกมาจากกระบวนการนี้
20 Process: กระบวนการ หมายถึง กระบวนการที่ใช้ทำผลิตภัณฑ์
21 Spec. Char. Class เช่น จุด special characteristic.
22 Method – วิธีการ นี่เป็นหัวข้อใหญ่ที่ครอบคลุมข้อ 23 – 28
23 Product / Process Specification / Tolerance – ข้อกำหนดของ ผลิตภัณฑ์ / กระบวนการ / เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนที่ยอมให้ ตรงนี้คุณต้องใส่สเปค
 ของผลิตภัณฑ์ หรือกระบวนการเข้าไป หรืออาจเป็นค่าเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนที่ยอมให้ก็ได้
24 Evaluation Measurement Technique – การประเมินเทคนิคการวัด ตรงนี้เป็นการประเมินเกี่ยวกับการวัดค่าต่างๆ ข้อมูลอาจได้มาจาก MSA คุณอาจนำ
 เทคนิคสถิติเช่น Process Capability หรือ Control Chart มาใช้
25 Sample – ตัวอย่าง เป็นตัวอย่างที่เก็บมาวัด แบ่งเป็น 2 รายการย่อยคือ 26 – 27
26 Size –ขนาด เป็นขนาดตัวอย่าง ไม่ใช่เป็นมิตินะครับ เป็นจำนวนตัวอย่างที่ชักมาวัดค่า
27 Frequency – ความถี่ ไม่ใช่ความถี่เสียง หรือแสงอะไรทั้งสิ้น เป็นความถี่ของการชักตัวอย่างเช่น วันละครั้ง หรือสับดาห์ละ 2 ครั้ง
28 Control Method – วิธีการควบคุม ตรงนี้คุณใส่หมายเลข Procedure หรือ Work Instruction ลงไปก็ได้
29 Reaction Plan – แผนโต้ตอบกลับ คุณต้องบอกไปว่าหากมีปัญหาจะทำอย่างไร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น